สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (อังกฤษ: United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) หรือชื่ออย่างสั้นว่า สหราชอาณาจักร (อังกฤษ: United Kingdom ย่อว่า UK) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บางครั้งเรียกโดยทั่วไปว่า บริเตนใหญ่ บริเตน หรือแม้แต่ ประเทศอังกฤษ ดินแดนส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักรจะอยู่บนเกาะบริเตนใหญ่และตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกและพื้นน้ำที่เชื่อมต่ออันได้แก่ช่องแคบอังกฤษ ทะเลเหนือ ทะเลเคลติก และทะเลไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ผ่านทางประเทศฝรั่งเศสทางตอนใต้ของช่องแคบอังกฤษ
สหราชอาณาจักรประกอบเป็นสหภาพที่เกิดจากการรวมตัวของดินแดน 4 ส่วน คือ 3 ชาติบนเกาะบริเตนใหญ่ ซึ่งได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ กับไอร์แลนด์เหนือบนเกาะไอร์แลนด์เข้าด้วยกัน นอกจากดินแดนทั้ง 4 แล้ว สหราชอาณาจักรยังมีดินแดนโพ้นทะเลและดินแดนใต้การปกครองอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วโลก สหราชอาณาจักรจึงได้ชื่อว่า ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน สหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งมีพระประมุของค์เดียวร่วมกับอีก 15 ประเทศ
สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหประชาชาติและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม G8 และเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์
เกาะบริเตนใหญ่ หรือบริเตน เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริเตน (มักรวมเกาะเล็กรอบ ๆ แต่ไม่รวมเกาะไอร์แลนด์) ซึ่งในทางการเมืองเป็นสถานที่ตั้งของ อังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ (สหราชอาณาจักรที่ไม่รวมไอร์แลนด์เหนือ)
ประวัติศาสตร์
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษนั้นได้ก่อตัวขึ้นเป็นรัฐแยกกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 โดยแต่ละรัฐมีราชวงศ์และระบอบการปกครองของตัวเอง ส่วน ราชรัฐเวลส์ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจากบทกฎหมายรุดดลันในปีพ.ศ. 1827 และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษในปีพ.ศ. 2078 จากพระราชบัญญัติสหภาพพ.ศ. 2250 ขณะที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์นั้นรวมกันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก จากการที่พระเจ้าเจมส์ที่หกแห่งสก๊อตแลนด์นั้นได้ปกครองอังกฤษ เนื่องจากพระนางอลิซาเบธที่หนึ่งไม่มีรัชทายาท ทั้งสองประเทศจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างมีรัฐบาลอิสระของตนเอง ต่อมาภายหลัง อังกฤษและสกอตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพทางการเมืองในชื่อราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
พระราชบัญญัติสหภาพ พ.ศ. 2343 ได้รวมราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่อยๆตกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของอังกฤษ เข้าเป็นสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ. 2465 26 แคว้นจาก 32 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์ตัดสินใจที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร และตั้งเป็นประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หลังจากนั้นอีก 7 ปี 6 แคว้นที่เหลือได้เข้ามารวมตัวกับสหราชอาณาจักรดังเดิม และตั้งชื่อแคว้นของตนเองเป็น ไอร์แลนด์เหนือ
ในพุทธศตวรรษที่ 24 สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นคือสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์) เป็นประเทศผู้นำของโลกในหลายๆด้าน เช่นการพัฒนาระบอบทุนนิยมและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รวมถึงการเผยแพร่ทางด้านวรรณกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จักรวรรดิบริเตนสามารถครอบครองดินแดนถึงหนึ่งในสี่ของพื้นผิวโลกและหนึ่งในสามของประชากรโลกในช่วงที่มีการขยายตัวสูงสุด ทำให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทั้งในด้านดินแดนและประชากร
อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเริ่มสูญเสียความเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในพุทธศตวรรษที่ 25 ให้กับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 อำนาจของสหราชอาณาจักรในวงการเมืองโลกเริ่มลดลง และเริ่มมีการปลดปล่อยอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรต่อสู้กับเยอรมนีนาซีและได้รับชัยชนะในปีพ.ศ. 2488 ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปีพ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันยังไม่เข้าร่วมใช้เงินยูโร โดยมีแผนที่จะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อผลจาก "บททดสอบห้าข้อ" ประเมินได้ว่าการเข้าร่วมใช้เงินยูโรจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร
การเมืองการปกครอง
สหราชอาณาจักรใช้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีนั้นเลือกจากรัฐสภาและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็น 2 สภา คือ เฮาส์ออฟลอร์ดส เป็นสภาสูงที่มาจากการแต่งตั้ง และเฮาส์ออฟคอมมอนส์ เป็นสภาล่างที่มาจากการเลือกตั้ง โดยหลักการแล้วผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกกันไป พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายกอร์ดอน บราวน์ จากพรรคแรงงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งหลังจากนายโทนี แบลร์ ลาออกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของมกุฏราชกุมารที่จะครองราชย์สมบัติเป็นคนต่อไปจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ก่อน จึงจะมีความชอบธรรมในการเป็นมกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งเวลส์ในปัจจุบันคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งมิได้อาศัยอยู่ที่เวลส์แต่อย่างใด หากแต่อาศัยอยู่ที่สวน High Grove ใน Tetbury ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ
ภูมิศาสตร์
สหราชอาณาจักรมีพรมแดนทางทิศใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ซึ่งคั่นระหว่างสหราชอาณาจักรกับภาคพื้นทวีปยุโรป ทางทิศเหนือจรดกับทะเลเหนือ ทางทิศตะวันตกกับทะเลไอร์แลนด์และมหาสมุทรแอตแลนติก สหราชอาณาจักรมีพรมแดนทางบกกับรัฐอื่นเพียงแห่งเดียว คือระหว่างไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์
อังกฤษนั้นส่วนมากจะเป็นแผ่นดินนูนที่ต่ำ มีภูเขาทางตอนเหนือ และ ตะวันตกเป็นเส้นแนวแบ่งเขตแคว้น มีเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเขตปริมณฑลลอนดอน ไม่มีภูเขาที่สูงกว่า 1000 เมตรในแคว้นอังกฤษ
ภูมิศาสตร์ของสกอตแลนด์นั้นหลากหลาย มีที่ต่ำทางตอนใต้ และที่สูงทางตอนเหนือ ตะวันออก และ ตะวันตก มีภูเขาเบนเนวิส สูง 1,344 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในหมู่เกาะอังกฤษ มีทะเลสาบ ช่องแคบที่ยาวและลึกเป็นจำนวนมาก และมีเกาะถึงกว่า 800 เกาะ เมืองหลวงคือเมืองเอดินบะระ ซึ่งเป็นเมืองที่มีศูนย์ใจกลางเมืองเป็นมรดกโลก แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือเมืองกลาสโกว์
ภูมิประเทศของเวลส์ส่วนมากจะเป็นภูเขา มีภูเขาสโนว์ดอน สูง 1,085 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในแคว้น มีเมืองคาร์ดิฟฟ์เป็นเมืองหลวง ส่วนแคว้นไอร์แลนด์เหนือนั้น ตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ และส่วนมากจะเป็นเทือกเขา มีเมืองหลวงคือเมืองเบลฟัสต์
หมู่เกาะอังกฤษนั้นประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่ถึงประมาณ 1,098 เกาะ
ประชากรจากการสำรวจสำมะโนครัวของสหราชอาณาจักรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 สหราชอาณาจักรมีประชากร 58,789,194 คน โดยมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป และอันดับ 21 ของโลก ในปีพ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการจำนวนประชากรที่ 59,834,300 คน และเพิ่มเป็น 60.2 ล้านคนในอีกสองปีต่อมา โดยการเพิ่มจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาจากการอพยพเข้าประเทศ อัตราการเกิดที่สูงขึ้น และอายุขัยที่ยาวนานขึ้น
สหราชอาณาจักรมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี และส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองหรือชานเมือง ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคนอาศับอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรสูงถึง 99% เป็นผลมาจากการศึกษาของรัฐทั่วประเทศ การศึกษาภาคบังคับมีสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ถึง 16 ปี
ภาษา
สหราชอาณาจักรไม่มีภาษาราชการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาท้องถิ่นอื่นๆได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก
ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก ภาษากลุ่มเคลติกของสหราชอาณาจักรก็มีพูดกันในกลุ่มเล็กๆหลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา
ในระยะหลังนี้ ผู้อพยพ โดยเฉพาะจากประเทศในเครือจักรภพ ได้นำภาษาอื่นหลายภาษาเข้ามาในสหราชอาณาจักร เช่น ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาตุรกี และภาษาโปแลนด์ โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้พูดภาษาฮินดี ปัญจาบ และเบงกาลีสูงที่สุดนอกทวีปเอเชีย
ศาสนา
คริสต์ศาสนาเข้าสู่เกาะบริเตนครั้งแรกโดยชาวโรมัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรยังคงมีสถานะเป็นประเทศคริสต์อย่างเป็นทางการ พระประมุขจะต้องเป็นชาวคริสต์ และสถาปนาโดยอัครบาทหลวงในเวสต์มินสเตอร์แอบบี ร้อยละ 72 ของประชากรในสหราชอาณาจักรประกาศตัวเป็นคริสตศาสนิกชน แต่ละชาติในสหราชอาณาจักรมีขนบธรรมเนียมทางศาสนาของตนเอง
พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีไปยังอังกฤษในปีพ.ศ. 1140 โดยออกัสตินดำรงตำแหน่งอาร์กบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีคนแรก ศาสนจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากศาสนาจักรแห่งโรมในปีพ.ศ. 2077 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ปัจจุบันนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์เป็นศาสนจักรประจำชาติของอังกฤษ และเป็นแม่ข่ายของชุมชนแองกลิคันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบาทหลวงของศาสนจักรเป็นสมาชิกของเฮาส์ออฟลอร์ดสด้วย กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของศาสนาจักรแห่งอังกฤษ และเป็นผู้ดูแลสูงสุดด้วย ผู้นับถือคริสต์ศาสนนิกายโรมันคาทอลิกไม่สามารถดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้
นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ แยกตัวออกมาจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกในปีพ.ศ. 2103 โดยปัจจุบันเป็นศาสนจักรนิกายเพรสไบทีเรียน และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐแม้ว่าจะมีสถานะเป็นศาสนาประจำชาติของสกอตแลนด์ กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรมีสถานะเป็นสมาชิกทั่วไป และจำเป็นต้องสาบานที่จะ "ปกป้องความมั่นคง" ของศาสนจักรในพระราชพิธีราชาภิเษก
ในปีพ.ศ. 2463 ศาสนจักรในเวลส์แยกตัวออกมาจากศาสนจักรแห่งอังกฤษ และได้ออกจากสถานะความเป็นศาสนจักรจัดตั้งของรัฐ แต่ยังคงเป็นสมาชิกของชุมนุมแองกลิคันอยู่ ศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นศาสนจักรแองกลิคัน ได้ยกเลิกความเป็นศาสนจักรจัดตั้งในปีพ.ศ. 2412 โดยศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ครอบคลุมเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด ทั้งในส่วนของแคว้นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในไอร์แลนด์เหนือ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นนิกายศาสนาเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด แต่น้อยกว่านิกายโปรเตสแตนต์ต่างๆเมื่อรวมกัน ศาสนจักรเพรสไบทีเรียนในไอร์แลนด์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุด และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนจักรแห่งสกอตแลนด์ในทางประวัติศาสตร์และเทววิทยา
ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นนิกายคริสต์ศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร หลังจากการปฏิรูปคริสต์ศาสนา มีการออกกฎหมายต่อต้านคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอย่างเข้มงวด กฎหมายต่อต้านเหล่นี้ยกเลิกไปจากกฎหมายหลายฉบับซึ่งปลดปล่อยคาทอลิกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24
กลุ่มคริสต์ศาสนาอื่นๆในสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย กลุ่มนิกายเมโทดิสต์ ก่อตั้งโดยจอห์น เวสลีย์ และกลุ่มแบบติสต์ นอกจากนี้ ยังมีโบสถ์เอวาเจลิคัลหรือเพนโทคอทัลมากขึ้นเรื่อย โดยส่วนมากมาจากการอพยพของประชากรจากประเทศในเครือจักรภพ สหราชอาณาจักรในปัจจุบันมีความหลากหลายทางด้านศาสนาค่อนข้างสูง คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูมีศาสนิกชนจำนวนมาก ในขณะที่ศาสนาซิกข์และศาสนายูดายมีศาสนิกชนจำนวนรองลงมา ร้อยละ 14.6 ของประชากรประกาศตัวว่าไม่นับถือศาสนาใดๆ
เชื่อกันว่ามีชาวมุสลิมถึง 1.8 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในลอนดอน เบอร์มิงแฮม แบรดฟอร์ด และโอลด์แฮม โดยในปัจจุบันสามารถเห็นมัสยิดได้ทั่วไปในหลายภาคของสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ ในระยะหลัง ผู้อพยพจากโซมาเลียและตะวันออกกลางได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2549 การให้สัมภาษณ์ของแจ็ก สตรอว์ ผู้นำเฮาส์ออฟคอมมอนส์ ได้ก่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องของผ้าคลุมศีรษะของชาวมุสลิม โดยสะท้อนให้เห็นฝ่ายชาวสหราชอาณาจักรที่เห็นว่าศาสนาอิสลามไม่สามารถเข้ากับสังคมสหราชอาณาจักรได้ และอีกกลุ่มที่พอใจกับศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร ศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู และ ศาสนาซิกข์ ก็มีขยายใหญ่ขึ้นในสหราชอาณาจักรเช่นกัน โดยมีชาวฮินดูมากกว่า 500,000 คน และชาวซิกข์ถึง 320,000 คน โดยปัจจุบันน่าจะเพิ่มขึ้นจากตัวเลขนี้ ซึ่งมาจากการสำรวจในปีพ.ศ. 2544 ในเมืองเลสเตอร์มีศาสนสถานของศาสนาเชน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกที่อยู่นอกประเทศอินเดีย
สหราชอาณาจักรประกอบเป็นสหภาพที่เกิดจากการรวมตัวของดินแดน 4 ส่วน คือ 3 ชาติบนเกาะบริเตนใหญ่ ซึ่งได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ กับไอร์แลนด์เหนือบนเกาะไอร์แลนด์เข้าด้วยกัน นอกจากดินแดนทั้ง 4 แล้ว สหราชอาณาจักรยังมีดินแดนโพ้นทะเลและดินแดนใต้การปกครองอื่น ๆ กระจายอยู่ทั่วโลก สหราชอาณาจักรจึงได้ชื่อว่า ดินแดนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน สหราชอาณาจักรเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งมีพระประมุของค์เดียวร่วมกับอีก 15 ประเทศ
สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหประชาชาติและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกของกลุ่ม G8 และเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์
เกาะบริเตนใหญ่ หรือบริเตน เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริเตน (มักรวมเกาะเล็กรอบ ๆ แต่ไม่รวมเกาะไอร์แลนด์) ซึ่งในทางการเมืองเป็นสถานที่ตั้งของ อังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ (สหราชอาณาจักรที่ไม่รวมไอร์แลนด์เหนือ)
ประวัติศาสตร์
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษนั้นได้ก่อตัวขึ้นเป็นรัฐแยกกันตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 โดยแต่ละรัฐมีราชวงศ์และระบอบการปกครองของตัวเอง ส่วน ราชรัฐเวลส์ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจากบทกฎหมายรุดดลันในปีพ.ศ. 1827 และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษในปีพ.ศ. 2078 จากพระราชบัญญัติสหภาพพ.ศ. 2250 ขณะที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์นั้นรวมกันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก จากการที่พระเจ้าเจมส์ที่หกแห่งสก๊อตแลนด์นั้นได้ปกครองอังกฤษ เนื่องจากพระนางอลิซาเบธที่หนึ่งไม่มีรัชทายาท ทั้งสองประเทศจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างมีรัฐบาลอิสระของตนเอง ต่อมาภายหลัง อังกฤษและสกอตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพทางการเมืองในชื่อราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
พระราชบัญญัติสหภาพ พ.ศ. 2343 ได้รวมราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่อยๆตกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของอังกฤษ เข้าเป็นสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ. 2465 26 แคว้นจาก 32 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์ตัดสินใจที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร และตั้งเป็นประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หลังจากนั้นอีก 7 ปี 6 แคว้นที่เหลือได้เข้ามารวมตัวกับสหราชอาณาจักรดังเดิม และตั้งชื่อแคว้นของตนเองเป็น ไอร์แลนด์เหนือ
ในพุทธศตวรรษที่ 24 สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นคือสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์) เป็นประเทศผู้นำของโลกในหลายๆด้าน เช่นการพัฒนาระบอบทุนนิยมและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา รวมถึงการเผยแพร่ทางด้านวรรณกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จักรวรรดิบริเตนสามารถครอบครองดินแดนถึงหนึ่งในสี่ของพื้นผิวโลกและหนึ่งในสามของประชากรโลกในช่วงที่มีการขยายตัวสูงสุด ทำให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทั้งในด้านดินแดนและประชากร
อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเริ่มสูญเสียความเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมในพุทธศตวรรษที่ 25 ให้กับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 อำนาจของสหราชอาณาจักรในวงการเมืองโลกเริ่มลดลง และเริ่มมีการปลดปล่อยอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลต่าง ๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรต่อสู้กับเยอรมนีนาซีและได้รับชัยชนะในปีพ.ศ. 2488 ซึ่งทำให้สหราชอาณาจักรได้เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปีพ.ศ. 2516 แต่ปัจจุบันยังไม่เข้าร่วมใช้เงินยูโร โดยมีแผนที่จะจัดการลงประชามติเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อผลจาก "บททดสอบห้าข้อ" ประเมินได้ว่าการเข้าร่วมใช้เงินยูโรจะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร
การเมืองการปกครอง
สหราชอาณาจักรใช้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีนั้นเลือกจากรัฐสภาและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็น 2 สภา คือ เฮาส์ออฟลอร์ดส เป็นสภาสูงที่มาจากการแต่งตั้ง และเฮาส์ออฟคอมมอนส์ เป็นสภาล่างที่มาจากการเลือกตั้ง โดยหลักการแล้วผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกกันไป พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นายกอร์ดอน บราวน์ จากพรรคแรงงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งหลังจากนายโทนี แบลร์ ลาออกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของมกุฏราชกุมารที่จะครองราชย์สมบัติเป็นคนต่อไปจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ก่อน จึงจะมีความชอบธรรมในการเป็นมกุฏราชกุมารแห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายแห่งเวลส์ในปัจจุบันคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งมิได้อาศัยอยู่ที่เวลส์แต่อย่างใด หากแต่อาศัยอยู่ที่สวน High Grove ใน Tetbury ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ
ภูมิศาสตร์
สหราชอาณาจักรมีพรมแดนทางทิศใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ซึ่งคั่นระหว่างสหราชอาณาจักรกับภาคพื้นทวีปยุโรป ทางทิศเหนือจรดกับทะเลเหนือ ทางทิศตะวันตกกับทะเลไอร์แลนด์และมหาสมุทรแอตแลนติก สหราชอาณาจักรมีพรมแดนทางบกกับรัฐอื่นเพียงแห่งเดียว คือระหว่างไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์
อังกฤษนั้นส่วนมากจะเป็นแผ่นดินนูนที่ต่ำ มีภูเขาทางตอนเหนือ และ ตะวันตกเป็นเส้นแนวแบ่งเขตแคว้น มีเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเขตปริมณฑลลอนดอน ไม่มีภูเขาที่สูงกว่า 1000 เมตรในแคว้นอังกฤษ
ภูมิศาสตร์ของสกอตแลนด์นั้นหลากหลาย มีที่ต่ำทางตอนใต้ และที่สูงทางตอนเหนือ ตะวันออก และ ตะวันตก มีภูเขาเบนเนวิส สูง 1,344 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในหมู่เกาะอังกฤษ มีทะเลสาบ ช่องแคบที่ยาวและลึกเป็นจำนวนมาก และมีเกาะถึงกว่า 800 เกาะ เมืองหลวงคือเมืองเอดินบะระ ซึ่งเป็นเมืองที่มีศูนย์ใจกลางเมืองเป็นมรดกโลก แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือเมืองกลาสโกว์
ภูมิประเทศของเวลส์ส่วนมากจะเป็นภูเขา มีภูเขาสโนว์ดอน สูง 1,085 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในแคว้น มีเมืองคาร์ดิฟฟ์เป็นเมืองหลวง ส่วนแคว้นไอร์แลนด์เหนือนั้น ตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ และส่วนมากจะเป็นเทือกเขา มีเมืองหลวงคือเมืองเบลฟัสต์
หมู่เกาะอังกฤษนั้นประกอบด้วย เกาะน้อยใหญ่ถึงประมาณ 1,098 เกาะ
ประชากรจากการสำรวจสำมะโนครัวของสหราชอาณาจักรในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 สหราชอาณาจักรมีประชากร 58,789,194 คน โดยมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป และอันดับ 21 ของโลก ในปีพ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการจำนวนประชากรที่ 59,834,300 คน และเพิ่มเป็น 60.2 ล้านคนในอีกสองปีต่อมา โดยการเพิ่มจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาจากการอพยพเข้าประเทศ อัตราการเกิดที่สูงขึ้น และอายุขัยที่ยาวนานขึ้น
สหราชอาณาจักรมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี และส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองหรือชานเมือง ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคนอาศับอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรสูงถึง 99% เป็นผลมาจากการศึกษาของรัฐทั่วประเทศ การศึกษาภาคบังคับมีสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ถึง 16 ปี
ภาษา
สหราชอาณาจักรไม่มีภาษาราชการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาท้องถิ่นอื่นๆได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก
ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก ภาษากลุ่มเคลติกของสหราชอาณาจักรก็มีพูดกันในกลุ่มเล็กๆหลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา
ในระยะหลังนี้ ผู้อพยพ โดยเฉพาะจากประเทศในเครือจักรภพ ได้นำภาษาอื่นหลายภาษาเข้ามาในสหราชอาณาจักร เช่น ภาษาคุชราต ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู ภาษาเบงกาลี ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาตุรกี และภาษาโปแลนด์ โดยสหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้พูดภาษาฮินดี ปัญจาบ และเบงกาลีสูงที่สุดนอกทวีปเอเชีย
ศาสนา
คริสต์ศาสนาเข้าสู่เกาะบริเตนครั้งแรกโดยชาวโรมัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรยังคงมีสถานะเป็นประเทศคริสต์อย่างเป็นทางการ พระประมุขจะต้องเป็นชาวคริสต์ และสถาปนาโดยอัครบาทหลวงในเวสต์มินสเตอร์แอบบี ร้อยละ 72 ของประชากรในสหราชอาณาจักรประกาศตัวเป็นคริสตศาสนิกชน แต่ละชาติในสหราชอาณาจักรมีขนบธรรมเนียมทางศาสนาของตนเอง
พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1 ส่งนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีไปยังอังกฤษในปีพ.ศ. 1140 โดยออกัสตินดำรงตำแหน่งอาร์กบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีคนแรก ศาสนจักรของอังกฤษแยกตัวออกจากศาสนาจักรแห่งโรมในปีพ.ศ. 2077 ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ปัจจุบันนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์เป็นศาสนจักรประจำชาติของอังกฤษ และเป็นแม่ข่ายของชุมชนแองกลิคันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบาทหลวงของศาสนจักรเป็นสมาชิกของเฮาส์ออฟลอร์ดสด้วย กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของศาสนาจักรแห่งอังกฤษ และเป็นผู้ดูแลสูงสุดด้วย ผู้นับถือคริสต์ศาสนนิกายโรมันคาทอลิกไม่สามารถดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้
นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ แยกตัวออกมาจากศาสนจักรโรมันคาทอลิกในปีพ.ศ. 2103 โดยปัจจุบันเป็นศาสนจักรนิกายเพรสไบทีเรียน และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐแม้ว่าจะมีสถานะเป็นศาสนาประจำชาติของสกอตแลนด์ กษัตริย์ของสหราชอาณาจักรมีสถานะเป็นสมาชิกทั่วไป และจำเป็นต้องสาบานที่จะ "ปกป้องความมั่นคง" ของศาสนจักรในพระราชพิธีราชาภิเษก
ในปีพ.ศ. 2463 ศาสนจักรในเวลส์แยกตัวออกมาจากศาสนจักรแห่งอังกฤษ และได้ออกจากสถานะความเป็นศาสนจักรจัดตั้งของรัฐ แต่ยังคงเป็นสมาชิกของชุมนุมแองกลิคันอยู่ ศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นศาสนจักรแองกลิคัน ได้ยกเลิกความเป็นศาสนจักรจัดตั้งในปีพ.ศ. 2412 โดยศาสนจักรแห่งไอร์แลนด์ครอบคลุมเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด ทั้งในส่วนของแคว้นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในไอร์แลนด์เหนือ นิกายโรมันคาทอลิกเป็นนิกายศาสนาเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุด แต่น้อยกว่านิกายโปรเตสแตนต์ต่างๆเมื่อรวมกัน ศาสนจักรเพรสไบทีเรียนในไอร์แลนด์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุด และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนจักรแห่งสกอตแลนด์ในทางประวัติศาสตร์และเทววิทยา
ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นนิกายคริสต์ศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร หลังจากการปฏิรูปคริสต์ศาสนา มีการออกกฎหมายต่อต้านคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอย่างเข้มงวด กฎหมายต่อต้านเหล่นี้ยกเลิกไปจากกฎหมายหลายฉบับซึ่งปลดปล่อยคาทอลิกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24
กลุ่มคริสต์ศาสนาอื่นๆในสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย กลุ่มนิกายเมโทดิสต์ ก่อตั้งโดยจอห์น เวสลีย์ และกลุ่มแบบติสต์ นอกจากนี้ ยังมีโบสถ์เอวาเจลิคัลหรือเพนโทคอทัลมากขึ้นเรื่อย โดยส่วนมากมาจากการอพยพของประชากรจากประเทศในเครือจักรภพ สหราชอาณาจักรในปัจจุบันมีความหลากหลายทางด้านศาสนาค่อนข้างสูง คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดูมีศาสนิกชนจำนวนมาก ในขณะที่ศาสนาซิกข์และศาสนายูดายมีศาสนิกชนจำนวนรองลงมา ร้อยละ 14.6 ของประชากรประกาศตัวว่าไม่นับถือศาสนาใดๆ
เชื่อกันว่ามีชาวมุสลิมถึง 1.8 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ซึ่งจำนวนมากอาศัยอยู่ในลอนดอน เบอร์มิงแฮม แบรดฟอร์ด และโอลด์แฮม โดยในปัจจุบันสามารถเห็นมัสยิดได้ทั่วไปในหลายภาคของสหราชอาณาจักร ชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศ ในระยะหลัง ผู้อพยพจากโซมาเลียและตะวันออกกลางได้เพิ่มจำนวนชาวมุสลิมในสหราชอาณาจักร ในปีพ.ศ. 2549 การให้สัมภาษณ์ของแจ็ก สตรอว์ ผู้นำเฮาส์ออฟคอมมอนส์ ได้ก่อเกิดความขัดแย้งในเรื่องของผ้าคลุมศีรษะของชาวมุสลิม โดยสะท้อนให้เห็นฝ่ายชาวสหราชอาณาจักรที่เห็นว่าศาสนาอิสลามไม่สามารถเข้ากับสังคมสหราชอาณาจักรได้ และอีกกลุ่มที่พอใจกับศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร ศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย เช่น ศาสนาฮินดู และ ศาสนาซิกข์ ก็มีขยายใหญ่ขึ้นในสหราชอาณาจักรเช่นกัน โดยมีชาวฮินดูมากกว่า 500,000 คน และชาวซิกข์ถึง 320,000 คน โดยปัจจุบันน่าจะเพิ่มขึ้นจากตัวเลขนี้ ซึ่งมาจากการสำรวจในปีพ.ศ. 2544 ในเมืองเลสเตอร์มีศาสนสถานของศาสนาเชน ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกที่อยู่นอกประเทศอินเดีย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.wikipedia.com จ๊า
แสดงความคิดเห็น