ไอซ์แลนด์ มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ (ไอซ์แลนด์: Ísland หรือ Lýðveldið Ísland; IPA: [ˈliðvɛltɪθ ˈistlant]) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก
ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 103,000 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี พ.ศ. 2549 ของสหประชาชาติ ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดในโลก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกของนาโต เอฟตา อีอีเอ และโออีซีดี แต่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
คำว่า "ไอซ์แลนด์" ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นทับศัพท์จากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Iceland" ส่วนชื่อในภาษาไอซ์แลนด์คือ "Ísland" (อีสลันต) คำว่า ís แปลว่าน้ำแข็ง และ land แปลว่าแผ่นดินหรือประเทศ
ประวัติศาสตร์
ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์เชื่อกันว่าเป็นนักบวชชาวไอริช ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในพุทธศตวรรษที่ 14 และย้ายออกไปก่อนชาวไวกิงเข้ามา พวกไวกิงเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 1417 การตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ถูกบันทึกในหนังสือการตั้งถิ่นฐาน (Landnámabók) จากหนังสือนี้ โดยระบุว่า Ingólfur Arnarson เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานคนแรก และตามมาด้วยชาวไวกิงอีกจำนวนหนึ่งในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1417 ถึง 1473 ชื่อส่วนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้เป็นชื่อชาวเคลติก และได้กล่าวถึงการนำทาสชาวเคลติกเข้ามาด้วย ภายในปี พ.ศ. 1473 ไอซ์แลนด์ได้เขียนรัฐธรรมนูญ และก่อตั้งอัลทิงกิ (Alþingi) ซึ่งเป็นรัฐสภาขึ้น ใช้อำนาจนิติบัญญัติและตุลาการ เป็นศูนย์กลางของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์รับคริสต์ศาสนาในปี พ.ศ. 1543
ไอซ์แลนด์เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในช่วง พ.ศ. 1763 ถึง 1805 ส่งผลทำให้ไอซ์แลนด์ถูกผนวกไปอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์นอร์เวย์ในปี พ.ศ. 1805 และต่อมา กษัตริย์เดนมาร์ก หลังจากที่นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กรวมกันภายใต้สหภาพคาลมาร์ กษัตริย์เดนมาร์กประกาศคริสต์ศาสนานิกายลูเทอรันเป็นศาสนาของอาณาจักรประมาณปี พ.ศ. 2093 ส่งผลมาถึงการยึดทรัพย์ของโบสถ์โรมันคาทอลิกในไอซ์แลนด์ และบิชอปคาทอลิกคนสุดท้ายถูกตัดหัว
เดนมาร์กควบคุมการค้าในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 2145 ระหว่าง พ.ศ. 2250 ถึง พ.ศ. 2252 เกิดโรคฝีดาษระบาด ทำให้ประชากรลดลงจาก 50 000 เหลือเพียงราว 35 000 คน ในปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2328 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างมากอีก จากเหตุภูเขาไฟระเบิดและภาวะขาดแคลนอาหาร
ไอซ์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์กหลังการแยกตัวของสหภาพเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ได้รัฐธรรมนูญใหม่ในปี พ.ศ. 2417 ปีที่เฉลิมฉลองหนึ่งสหัสวรรษการตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ รัฐธรรมนูญใหม่นี้ให้ไอซ์แลนด์มีอำนาจในกิจการภายใน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งให้อำนาจปกครองตัวเองกับไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ได้เป็นรัฐเอกราชในปี พ.ศ. 2461 โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กเป็นประมุข โดยไอซ์แลนด์ยังให้เดนมาร์กจัดการกิจการต่างประเทศและการป้องกันประเทศให้ หลังจากเยอรมนียึดครองเดนมาร์กในปี พ.ศ. 2483 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อัลทิงกิจึงตัดสินใจบริหารการต่างประเทศเองและประกาศนโยบายเป็นกลาง แต่ก็ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองในเวลาต่อมา โดยเริ่มต้นเป็นกองทัพสหราชอาณาจักร และต่อมาเป็นกองทัพสหรัฐอเมริกา ฝ่ายสัมพันธมิตรคงกองกำลังในไอซ์แลนด์จนกระทั่งจบสงคราม ไอซ์แลนด์ประกาศเป็น สาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2487 มี สเวน ปีเยิร์นสซอน (Sveinn Björnsson) เป็นประธาธิบดีคนแรก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป (ปัจจุบันคือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) และนาโต ไอซ์แลนด์ทำข้อตกลงทางกองทัพกับสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2494 โดยให้สหรัฐตั้งฐานทัพในไอซ์แลนด์ ซึ่งคงอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2549 ไอซ์แลนด์เกิดความขัดแย้งหลายครั้งกับสหราชอาณาจักรในเรื่องการขยายน่านน้ำประมงของไอซ์แลนด์ในช่วงปี พ.ศ. 2501 2515 และ 2521 รู้จักกันในชื่อสงครามปลาคอด (Þorskastríðin; Cod War) ไอซ์แลนด์เข้าร่วมสมาคมการค้าเสรียุโรปและเป็นสมาชิกก่อตั้งของเขตเศรษฐกิจยุโรป
การเมืองการปกครอง
ไอซ์แลนด์เป็นสาธารณรัฐ ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยเป็นระบอบรัฐสภา ไอซ์แลนด์มีรัฐธรรมนูญแบบเป็นลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไอซ์แลนด์ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2417 ในสมัยที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2487 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วหกครั้ง
ประธานาธิบดีแห่งไอซ์แลนด์ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระสี่ปี ตามรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีไม่ใช้อำนาจบริหารเอง แต่เป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีขึ้นมาทำหน้าที่หลังการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีมีอำนาจในส่วนนิติบัญญัติร่วมกับรัฐสภา โดยหากประธานาธิบดีไม่รับรองกฎหมายที่ผ่านสภามา จะต้องจัดการประชามติและหากผลประชามติไม่เห็นชอบ กฎหมายนั้นก็จะเป็นโมฆะ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของไอซ์แลนด์คือโอลาฟือร์ รักนาร์ กริมส์ซอน ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 2543 และ 2547
รัฐสภาของไอซ์แลนด์เรียกในภาษาท้องถิ่นว่าอัลทิงกิ (Alþingi) โดยอัลทิงกิสมัยใหม่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2388 ทำหน้าที่ถวายคำแนะนำต่อกษัตริย์เดนมาร์ก โดยดั้งเดิมทั้งอัลทิงกิเป็นสภานิติบัญญัติและตุลาการซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1473 เป็นรากฐานของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ต่อมาอัลทิงกิเปลี่ยนแปลงหน้าที่ตามยุคสมัยมาจนการยุบในปี พ.ศ. 2343 อัลทิงกิกลับมาทำหน้าที่นิติบัญญัติอีกครั้งในปี พ.ศ. 2417 ปัจจุบัน อัลทิงกิเป็นสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 63 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสี่ปี ประชากรที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีมีสิทธิเลือกตั้ง โดยทั่วไป หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภาหลังการเลือกตั้งเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งคนปัจจุบันคือJóhanna Sigurðardóttir
ไอซ์แลนด์ใช้ระบบพหุพรรค ปัจจุบันมีพรรคการเมืองห้าพรรคที่มีที่นั่งในอัลทิงกิ ได้แก่ พรรคอิสรภาพ พันธมิตรสังคมนิยมประชาธิปไตย ขบวนการฝ่ายซ้าย-กรีน พรรคก้าวหน้า และพรรคเสรีนิยม
ภูมิประเทศ
เกาะไอซ์แลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ ถัดลงมาทางใต้เล็กน้อยจากอาร์กติกเซอร์เคิล ไอซ์แลนด์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปเหนือ ไม่ใช่อเมริกาเหนือ โดยเป็นเกาะที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับสองของยุโรปรองจากบริเตนใหญ่
ไอซ์แลนด์มีพื้นที่ทั้งหมด 103,000 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งยาว 4970 กิโลเมตร ระยะทางใกล้ที่สุดไปยังประเทศอื่นๆ คือ 287 กิโลเมตรถึงกรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) 798 กิโลเมตรถึงสกอตแลนด์ (สหราชอาณาจักร) และ 970 กิโลเมตรถึงนอร์เวย์แผ่นดินใหญ่ 62% ของพื้นที่ประเทศเป็นที่รกร้าง มีเพียง 23% ที่พืชเจริญเติบโตได้ อีก 11% เป็นธารน้ำแข็งพื้นที่ส่วนใหญ่ของไอซ์แลนด์เป็นที่สูง มากกว่าหนึ่งในสามของประเทศสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 600 เมตร จุดที่สูงที่สุดคือยอดเขาฮวันนาตัลสนูกือร์ (Hvannadalshnúkur)
ธรณีวิทยาในทางธรณีวิทยา ไอซ์แลนด์เป็นผืนดินที่ยังใหม่ โดยไอซ์แลนด์ตั้งอยู่บนจุดร้อนไอซ์แลนด์และสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก[9] ซึ่งเป็นแนวแผ่นเปลือกแยกตัวระหว่างแผ่นทวีปอเมริกาเหนือและแผ่นทวีปยูเรเชีย ไอซ์แลนด์มีภูเขาไฟมากกว่าร้อยแห่ง[10] หลายแห่งยังคงคุกรุ่นอยู่ เช่น ภูเขาไฟเฮกลา (Hekla) ซึ่งปะทุครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2543] ปัจจัยเดียวกับที่ทำให้เกิดภูเขาไฟนี้ ยังทำให้ไอซ์แลนด์มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพสูง ไอซ์แลนด์มีแหล่งน้ำพุร้อนจำนวนมาก และยังได้ไฟฟ้าพลังน้ำด้วย ไอซ์แลนด์ครอบครองเกาะซึร์ทเซย์ ซึ่งขึ้นมาจากเหนือน้ำทะเลหลังการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลในปี พ.ศ. 2506
ภูมิอากาศ
ไอซ์แลนด์มีภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรกึ่งอาร์กติก ค่อนข้างอบอุ่นจากอิทธิพลของกัลฟ์สตรีม อุณหภูมิเฉลี่ยที่เรคยาวิกในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 0 องศาเซลเซียส ขณะที่เดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียส วันที่อากาศอบอุ่นที่สุดในฤดูร้อนของไอซ์แลนด์มีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ที่สูงตอนกลางของประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าที่ต่ำตามชายฝั่งพอสมควร โดยในฤดูหนาว ที่สูงของประเทศมีอุณหภูมิประมาณลบ 25 ถึง 30 องศาเซลเซียส
ประชากร
ไอซ์แลนด์มีประชากร 313,376 คน (ประมาณการ 1 มกราคม 2551) เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเรคยาวิก มีประชากรประมาณ 1.2 แสนคน ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรในไอซ์แลนด์เป็นพลเมืองต่างประเทศ โดยมีพลเมืองนอร์ดิกอื่นๆ 1.7 พันคน ชาวยุโรปอื่นๆ 1.2 หมื่นคน ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นชาวโปแลนด์ ชาวเอเชีย 2.9 พันคน ส่วนใหญ่มาจากฟิลิปปินส์ (778) จีน (755) และไทย (546)
ศาสนาและภาษา
ไอซ์แลนด์มีศาสนจักรประจำชาติ เป็นคริสตจักรเอวานเจลิคัลลูเทอรัน ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุน โดยรัฐบาลเคารพเสรีภาพทางศาสนาซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญร้อยละ 82 ของประชากรเป็นสมาชิกของคริสตจักรไอซ์แลนด์ มีคริสตจักรลูเทอรันเสรีอื่นๆ มีสมาชิกรวมกัน 4.7 เปอร์เซนต์ของประชากร มีองค์กรทางศาสนาอื่นๆ ที่ได้ลงทะเบียนรับรอง มีสมาชิกรวมกัน 5.1 เปอร์เซนต์ของประชากร กลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดคือ เอาซาตรูอาร์เฟลายิท (Ásatrúarfélagið) ซึ่งเป็นกลุ่มนีโอเพแกน
ภาษาหลักของไอซ์แลนด์
ภาษาไอซ์แลนด์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์เมนิกเหนือ โดยยังคงลักษณะใกล้เคียงกับภาษานอร์สโบราณมากกว่าภาษาสแกนดิเนเวียอื่นๆภาษาอังกฤษและภาษาเดนมาร์กเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการศึกษา
ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 103,000 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี พ.ศ. 2549 ของสหประชาชาติ ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดในโลก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกของนาโต เอฟตา อีอีเอ และโออีซีดี แต่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
คำว่า "ไอซ์แลนด์" ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นทับศัพท์จากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Iceland" ส่วนชื่อในภาษาไอซ์แลนด์คือ "Ísland" (อีสลันต) คำว่า ís แปลว่าน้ำแข็ง และ land แปลว่าแผ่นดินหรือประเทศ
ประวัติศาสตร์
ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์เชื่อกันว่าเป็นนักบวชชาวไอริช ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในพุทธศตวรรษที่ 14 และย้ายออกไปก่อนชาวไวกิงเข้ามา พวกไวกิงเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 1417 การตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ถูกบันทึกในหนังสือการตั้งถิ่นฐาน (Landnámabók) จากหนังสือนี้ โดยระบุว่า Ingólfur Arnarson เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานคนแรก และตามมาด้วยชาวไวกิงอีกจำนวนหนึ่งในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1417 ถึง 1473 ชื่อส่วนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้เป็นชื่อชาวเคลติก และได้กล่าวถึงการนำทาสชาวเคลติกเข้ามาด้วย ภายในปี พ.ศ. 1473 ไอซ์แลนด์ได้เขียนรัฐธรรมนูญ และก่อตั้งอัลทิงกิ (Alþingi) ซึ่งเป็นรัฐสภาขึ้น ใช้อำนาจนิติบัญญัติและตุลาการ เป็นศูนย์กลางของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์รับคริสต์ศาสนาในปี พ.ศ. 1543
ไอซ์แลนด์เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในช่วง พ.ศ. 1763 ถึง 1805 ส่งผลทำให้ไอซ์แลนด์ถูกผนวกไปอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์นอร์เวย์ในปี พ.ศ. 1805 และต่อมา กษัตริย์เดนมาร์ก หลังจากที่นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กรวมกันภายใต้สหภาพคาลมาร์ กษัตริย์เดนมาร์กประกาศคริสต์ศาสนานิกายลูเทอรันเป็นศาสนาของอาณาจักรประมาณปี พ.ศ. 2093 ส่งผลมาถึงการยึดทรัพย์ของโบสถ์โรมันคาทอลิกในไอซ์แลนด์ และบิชอปคาทอลิกคนสุดท้ายถูกตัดหัว
เดนมาร์กควบคุมการค้าในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 2145 ระหว่าง พ.ศ. 2250 ถึง พ.ศ. 2252 เกิดโรคฝีดาษระบาด ทำให้ประชากรลดลงจาก 50 000 เหลือเพียงราว 35 000 คน ในปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2328 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างมากอีก จากเหตุภูเขาไฟระเบิดและภาวะขาดแคลนอาหาร
ไอซ์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์กหลังการแยกตัวของสหภาพเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ได้รัฐธรรมนูญใหม่ในปี พ.ศ. 2417 ปีที่เฉลิมฉลองหนึ่งสหัสวรรษการตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ รัฐธรรมนูญใหม่นี้ให้ไอซ์แลนด์มีอำนาจในกิจการภายใน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งให้อำนาจปกครองตัวเองกับไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ได้เป็นรัฐเอกราชในปี พ.ศ. 2461 โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กเป็นประมุข โดยไอซ์แลนด์ยังให้เดนมาร์กจัดการกิจการต่างประเทศและการป้องกันประเทศให้ หลังจากเยอรมนียึดครองเดนมาร์กในปี พ.ศ. 2483 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อัลทิงกิจึงตัดสินใจบริหารการต่างประเทศเองและประกาศนโยบายเป็นกลาง แต่ก็ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองในเวลาต่อมา โดยเริ่มต้นเป็นกองทัพสหราชอาณาจักร และต่อมาเป็นกองทัพสหรัฐอเมริกา ฝ่ายสัมพันธมิตรคงกองกำลังในไอซ์แลนด์จนกระทั่งจบสงคราม ไอซ์แลนด์ประกาศเป็น สาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2487 มี สเวน ปีเยิร์นสซอน (Sveinn Björnsson) เป็นประธาธิบดีคนแรก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป (ปัจจุบันคือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) และนาโต ไอซ์แลนด์ทำข้อตกลงทางกองทัพกับสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2494 โดยให้สหรัฐตั้งฐานทัพในไอซ์แลนด์ ซึ่งคงอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2549 ไอซ์แลนด์เกิดความขัดแย้งหลายครั้งกับสหราชอาณาจักรในเรื่องการขยายน่านน้ำประมงของไอซ์แลนด์ในช่วงปี พ.ศ. 2501 2515 และ 2521 รู้จักกันในชื่อสงครามปลาคอด (Þorskastríðin; Cod War) ไอซ์แลนด์เข้าร่วมสมาคมการค้าเสรียุโรปและเป็นสมาชิกก่อตั้งของเขตเศรษฐกิจยุโรป
การเมืองการปกครอง
ไอซ์แลนด์เป็นสาธารณรัฐ ใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยเป็นระบอบรัฐสภา ไอซ์แลนด์มีรัฐธรรมนูญแบบเป็นลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไอซ์แลนด์ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2417 ในสมัยที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2487 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วหกครั้ง
ประธานาธิบดีแห่งไอซ์แลนด์ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระสี่ปี ตามรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีไม่ใช้อำนาจบริหารเอง แต่เป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีขึ้นมาทำหน้าที่หลังการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีมีอำนาจในส่วนนิติบัญญัติร่วมกับรัฐสภา โดยหากประธานาธิบดีไม่รับรองกฎหมายที่ผ่านสภามา จะต้องจัดการประชามติและหากผลประชามติไม่เห็นชอบ กฎหมายนั้นก็จะเป็นโมฆะ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของไอซ์แลนด์คือโอลาฟือร์ รักนาร์ กริมส์ซอน ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2539 2543 และ 2547
รัฐสภาของไอซ์แลนด์เรียกในภาษาท้องถิ่นว่าอัลทิงกิ (Alþingi) โดยอัลทิงกิสมัยใหม่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2388 ทำหน้าที่ถวายคำแนะนำต่อกษัตริย์เดนมาร์ก โดยดั้งเดิมทั้งอัลทิงกิเป็นสภานิติบัญญัติและตุลาการซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1473 เป็นรากฐานของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ต่อมาอัลทิงกิเปลี่ยนแปลงหน้าที่ตามยุคสมัยมาจนการยุบในปี พ.ศ. 2343 อัลทิงกิกลับมาทำหน้าที่นิติบัญญัติอีกครั้งในปี พ.ศ. 2417 ปัจจุบัน อัลทิงกิเป็นสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 63 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสี่ปี ประชากรที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีมีสิทธิเลือกตั้ง โดยทั่วไป หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภาหลังการเลือกตั้งเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี ซึ่งคนปัจจุบันคือJóhanna Sigurðardóttir
ไอซ์แลนด์ใช้ระบบพหุพรรค ปัจจุบันมีพรรคการเมืองห้าพรรคที่มีที่นั่งในอัลทิงกิ ได้แก่ พรรคอิสรภาพ พันธมิตรสังคมนิยมประชาธิปไตย ขบวนการฝ่ายซ้าย-กรีน พรรคก้าวหน้า และพรรคเสรีนิยม
ภูมิประเทศ
เกาะไอซ์แลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ ถัดลงมาทางใต้เล็กน้อยจากอาร์กติกเซอร์เคิล ไอซ์แลนด์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปเหนือ ไม่ใช่อเมริกาเหนือ โดยเป็นเกาะที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับสองของยุโรปรองจากบริเตนใหญ่
ไอซ์แลนด์มีพื้นที่ทั้งหมด 103,000 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งยาว 4970 กิโลเมตร ระยะทางใกล้ที่สุดไปยังประเทศอื่นๆ คือ 287 กิโลเมตรถึงกรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) 798 กิโลเมตรถึงสกอตแลนด์ (สหราชอาณาจักร) และ 970 กิโลเมตรถึงนอร์เวย์แผ่นดินใหญ่ 62% ของพื้นที่ประเทศเป็นที่รกร้าง มีเพียง 23% ที่พืชเจริญเติบโตได้ อีก 11% เป็นธารน้ำแข็งพื้นที่ส่วนใหญ่ของไอซ์แลนด์เป็นที่สูง มากกว่าหนึ่งในสามของประเทศสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 600 เมตร จุดที่สูงที่สุดคือยอดเขาฮวันนาตัลสนูกือร์ (Hvannadalshnúkur)
ธรณีวิทยาในทางธรณีวิทยา ไอซ์แลนด์เป็นผืนดินที่ยังใหม่ โดยไอซ์แลนด์ตั้งอยู่บนจุดร้อนไอซ์แลนด์และสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก[9] ซึ่งเป็นแนวแผ่นเปลือกแยกตัวระหว่างแผ่นทวีปอเมริกาเหนือและแผ่นทวีปยูเรเชีย ไอซ์แลนด์มีภูเขาไฟมากกว่าร้อยแห่ง[10] หลายแห่งยังคงคุกรุ่นอยู่ เช่น ภูเขาไฟเฮกลา (Hekla) ซึ่งปะทุครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2543] ปัจจัยเดียวกับที่ทำให้เกิดภูเขาไฟนี้ ยังทำให้ไอซ์แลนด์มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพสูง ไอซ์แลนด์มีแหล่งน้ำพุร้อนจำนวนมาก และยังได้ไฟฟ้าพลังน้ำด้วย ไอซ์แลนด์ครอบครองเกาะซึร์ทเซย์ ซึ่งขึ้นมาจากเหนือน้ำทะเลหลังการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเลในปี พ.ศ. 2506
ภูมิอากาศ
ไอซ์แลนด์มีภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรกึ่งอาร์กติก ค่อนข้างอบอุ่นจากอิทธิพลของกัลฟ์สตรีม อุณหภูมิเฉลี่ยที่เรคยาวิกในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 0 องศาเซลเซียส ขณะที่เดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 11 องศาเซลเซียส วันที่อากาศอบอุ่นที่สุดในฤดูร้อนของไอซ์แลนด์มีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส ที่สูงตอนกลางของประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่าที่ต่ำตามชายฝั่งพอสมควร โดยในฤดูหนาว ที่สูงของประเทศมีอุณหภูมิประมาณลบ 25 ถึง 30 องศาเซลเซียส
ประชากร
ไอซ์แลนด์มีประชากร 313,376 คน (ประมาณการ 1 มกราคม 2551) เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเรคยาวิก มีประชากรประมาณ 1.2 แสนคน ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรในไอซ์แลนด์เป็นพลเมืองต่างประเทศ โดยมีพลเมืองนอร์ดิกอื่นๆ 1.7 พันคน ชาวยุโรปอื่นๆ 1.2 หมื่นคน ครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นชาวโปแลนด์ ชาวเอเชีย 2.9 พันคน ส่วนใหญ่มาจากฟิลิปปินส์ (778) จีน (755) และไทย (546)
ศาสนาและภาษา
ไอซ์แลนด์มีศาสนจักรประจำชาติ เป็นคริสตจักรเอวานเจลิคัลลูเทอรัน ซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุน โดยรัฐบาลเคารพเสรีภาพทางศาสนาซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญร้อยละ 82 ของประชากรเป็นสมาชิกของคริสตจักรไอซ์แลนด์ มีคริสตจักรลูเทอรันเสรีอื่นๆ มีสมาชิกรวมกัน 4.7 เปอร์เซนต์ของประชากร มีองค์กรทางศาสนาอื่นๆ ที่ได้ลงทะเบียนรับรอง มีสมาชิกรวมกัน 5.1 เปอร์เซนต์ของประชากร กลุ่มศาสนาที่ไม่ใช่ศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดคือ เอาซาตรูอาร์เฟลายิท (Ásatrúarfélagið) ซึ่งเป็นกลุ่มนีโอเพแกน
ภาษาหลักของไอซ์แลนด์
ภาษาไอซ์แลนด์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์เมนิกเหนือ โดยยังคงลักษณะใกล้เคียงกับภาษานอร์สโบราณมากกว่าภาษาสแกนดิเนเวียอื่นๆภาษาอังกฤษและภาษาเดนมาร์กเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรการศึกษา
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.wikipedia.com จ๊า
แสดงความคิดเห็น