โปรตุเกส (Portugal) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (Portuguese Republic) (โปรตุเกส: República Portuguesa) เป็น สาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อาโซเรช (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย)
ประวัติศาสตร์
โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย (Iberians) ชาวเซลต์ (Celts) ชาวฟีนีเชีย (Phoenicians) และชาวคาร์เทจ (Carthaginians) ชาวกรีก (Greeks) ชาวโรมัน (Romans) ชาวเผ่าเยอรมัน (Germanic tribespeople) รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ (Arabians) ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม" ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป
ประเทศโปรตุเกสในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทำการล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการ (หรือการบริหารแบบพรรคเดียว) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469(ค.ศ. 1926) จนถูกโค่นล้มในปี พ.ศ. 2517(ค.ศ. 1974) จากนั้นในภายหลังจึงเข้ามาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Community (สหภาพยุโรปในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2529(ค.ศ. 1986) ประเทศโปรตุเกสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ยุคลูซิทาเนีย
ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรียออกมา นักสำรวจชาวกรีกในยุคนั้นตั้งชื่อภูมิภาคนี้ว่า "ออร์ฟิอุสซา" (Orphiussa) (มาจากภาษากรีก หมายความว่า "แดนแห่งพญางู" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นั่นนับถืองูพิษ ต่อมาพ.ศ. 305(ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อยๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย (Lusitanians) ที่อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำดูโร (Douro) และแม่น้ำเทโฮ (Tegus หรือ Tejo) และชาวแคลเลไค (Callaeci) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำดูโรรวมอยู่กับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงชาวโคนิไอ (Conii) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกสมาเป็นเวลานาน และชาวเซลติไค (Celtici) ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน พวกเขาอาศัยอยู่ที่อเลนเทโฮ (Alentejo)
ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค (Punic Wars) การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อยๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349(194 ปีก่อนคริสตกาล)เกิดการกบฎขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้ ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และปล้นสดมภ์เมืองโคนิสทอร์จิส (Conistorgis) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรชิดเชื้อกับโรม ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส (Viriathus) เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็นชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616(ค.ศ. 73)
ยุคอาณาจักร
ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวเผ่าอนารยชนเยอรมัน (ส่วนใหญ่คือเผ่าซูวี (Suevi) และชาววิสิกอธ) ได้ทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย, ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น และกลายเป็นชาวพื้นเมืองไอบีเรียในที่สุด มีชาวเผ่ากลุ่มน้อยเช่นชาวแวนดัล (Vandals) เผ่าซิลิงไก (Silingi) และเผ่าฮาสดิงไก (Hasdingi) รวมถึงชาวซาร์มาเทีย (หรือ ชาวอลัน - Alans) อาศัยอยู่ด้วย แต่ต่อมาพวกเขาโดนเนรเทศหรือจำกัดถิ่นที่อยู่โดยชาววิสิกอธ (Visigoths)
การรุกรานของชาวมุสลิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1254(ค.ศ. 711) บรรดาขุนนางที่ถูกขับไล่ออกมาอพยพไปยังทางตอนเหนือที่ยังไม่ได้ทำการยึดครอง ณ ที่ราบสูงแอสทูเรีย (Asturia) จากจุดนั้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการยึดดินแดนคืนมาจากชาวมัวร์ (Moors) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเบอร์เบอร์ และชาวอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนักในการยึดคืนมาเนื่องมาจากการยึดดินแดนคืนครั้งใหญ่ของชาวคริสต์หรือ Reconquista ในปี พ.ศ. 1411(ค.ศ. 868) เคานต์วีมารา เปเรช (Count Vímara Peres) เป็นผู้ยึดดินแดนระหว่างแม่น้ำมีโนและดูโรคืนมาได้ ดินแดนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันได้นามว่า Portucale (ซึ่งก็คือโปรตุเกสในปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์
โปรตุเกสคือดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมแตกต่างกันไปอย่างต่อเนื่องในช่วง 3,500 ปีที่ผ่านมา ทั้งอารยธรรมของชาวไอบีเรีย (Iberians) ชาวเซลต์ (Celts) ชาวฟีนีเชีย (Phoenicians) และชาวคาร์เทจ (Carthaginians) ชาวกรีก (Greeks) ชาวโรมัน (Romans) ชาวเผ่าเยอรมัน (Germanic tribespeople) รวมถึงอารยธรรมของชาวอาหรับ (Arabians) ล้วนเคยเหยียบย่ำบนแผ่นดินโปรตุเกสมาแล้วทั้งสิ้น ในชื่อ "โปรตุเกส" นั้นก็บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์สมัยโบราณส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไปแล้ว เนื่องจากรากศัพท์ของคำว่าโปรตุเกสนั้น คือชื่อที่ชาวโรมันตั้งให้ชื่อว่า "Portus Cale" อาจเป็นไปได้ว่าคำนี้จะมาจากการสมาสคำระหว่างภาษากรีกและภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "ท่าเรือที่สวยงาม" ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ คริสต์ศตวรรษที่ 16 นั้นโปรตุเกสคือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม โดยจักรวรรดิโปรตุเกสนั้นแผ่ขยายอำนาจของตนไปทั่วโลก เมื่อหลังจากที่ประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ พัฒนาขึ้นในด้านการล่าอาณานิคมแล้ว โปรตุเกสจึงเสื่อมถอยลงไป
ประเทศโปรตุเกสในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากการปฏิวัติเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ทำการล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการ (หรือการบริหารแบบพรรคเดียว) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469(ค.ศ. 1926) จนถูกโค่นล้มในปี พ.ศ. 2517(ค.ศ. 1974) จากนั้นในภายหลังจึงเข้ามาเป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ European Economic Community (สหภาพยุโรปในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2529(ค.ศ. 1986) ประเทศโปรตุเกสพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ยุคลูซิทาเนีย
ในช่วงต้น ๆ หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล ชาวเซลต์ได้ทำการรุกรานโปรตุเกสจากภูมิภาคยุโรปตอนกลางอยู่หลายระลอกด้วยกัน รวมถึงแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวไอบีเรียซึ่งเป็นประชากรท้องถิ่น ก่อให้เกิดชาวเซลต์ลูกครึ่งไอบีเรียออกมา นักสำรวจชาวกรีกในยุคนั้นตั้งชื่อภูมิภาคนี้ว่า "ออร์ฟิอุสซา" (Orphiussa) (มาจากภาษากรีก หมายความว่า "แดนแห่งพญางู" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นั่นนับถืองูพิษ ต่อมาพ.ศ. 305(ก่อนคริสตกาล 238 ปี) ชาวคาร์เทจเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแนวชายฝั่งบนคาบสมุทรไอบีเรีย ในช่วงนี้มีเผ่าย่อยๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายกันไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นชาวลูซิทาเนีย (Lusitanians) ที่อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำดูโร (Douro) และแม่น้ำเทโฮ (Tegus หรือ Tejo) และชาวแคลเลไค (Callaeci) ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำดูโรรวมอยู่กับเผ่าอื่น ๆ รวมถึงชาวโคนิไอ (Conii) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกสมาเป็นเวลานาน และชาวเซลติไค (Celtici) ชนรุ่นหลังของชาวเซลต์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน พวกเขาอาศัยอยู่ที่อเลนเทโฮ (Alentejo)
ก่อนคริสตกาล 219 ปี ทหารชาวโรมันชุดแรกเข้ามาทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย และขับไล่ชาวคาร์เทจออกไประหว่างสงครามพิวนิค (Punic Wars) การพิชิตโปรตุเกสของชาวโรมันเริ่มต้นขึ้นทางตอนใต้ขึ้นมา, ในตอนใต้นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาพบกับชาวพื้นเมืองที่เป็นมิตรเผ่าแรกคือเผ่าโคนิไอ หลายทศวรรษต่อมา ชาวโรมันก็ค่อยๆ ขยายวงแหวนแห่งการปกครองออกไป แต่ในที่สุด เมื่อ พ.ศ. 349(194 ปีก่อนคริสตกาล)เกิดการกบฎขึ้นทางตอนเหนือ โดยชาวลูซิเทเนียที่ในที่สุดก็สามารถตรึงกำลังพวกโรมันเอาไว้ได้ ได้ทำการยึดอาณาเขตคืนมาจากชาวโรมัน และปล้นสดมภ์เมืองโคนิสทอร์จิส (Conistorgis) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเผ่าโคนิไอ ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวโคนิไอนี้ผูกมิตรชิดเชื้อกับโรม ผู้นำของชาวลูซิเทเนีย วิเรียธิอุส (Viriathus) เป็นผู้นำการขับไล่ทหารโรมันออกจากคาบสมุทรไอบีเรีย ทำให้โรมต้องส่งกองทหารโรมันมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมาทางโรมจึงทำการประนีประนอมโดยการเปลี่ยนสัญชาติชาวลูซิเทเนียให้เป็นชาวโรมัน ด้วยการมอบสิทธิ์ละติน (Latinius หรือ Latin Right) ให้กับชาวลูซิเทเนียในปี พ.ศ. 616(ค.ศ. 73)
ยุคอาณาจักร
ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวเผ่าอนารยชนเยอรมัน (ส่วนใหญ่คือเผ่าซูวี (Suevi) และชาววิสิกอธ) ได้ทำการรุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย, ก่อตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้น และกลายเป็นชาวพื้นเมืองไอบีเรียในที่สุด มีชาวเผ่ากลุ่มน้อยเช่นชาวแวนดัล (Vandals) เผ่าซิลิงไก (Silingi) และเผ่าฮาสดิงไก (Hasdingi) รวมถึงชาวซาร์มาเทีย (หรือ ชาวอลัน - Alans) อาศัยอยู่ด้วย แต่ต่อมาพวกเขาโดนเนรเทศหรือจำกัดถิ่นที่อยู่โดยชาววิสิกอธ (Visigoths)
การรุกรานของชาวมุสลิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1254(ค.ศ. 711) บรรดาขุนนางที่ถูกขับไล่ออกมาอพยพไปยังทางตอนเหนือที่ยังไม่ได้ทำการยึดครอง ณ ที่ราบสูงแอสทูเรีย (Asturia) จากจุดนั้นพวกเขามีจุดมุ่งหมายในการยึดดินแดนคืนมาจากชาวมัวร์ (Moors) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเบอร์เบอร์ และชาวอาหรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาไม่นานนักในการยึดคืนมาเนื่องมาจากการยึดดินแดนคืนครั้งใหญ่ของชาวคริสต์หรือ Reconquista ในปี พ.ศ. 1411(ค.ศ. 868) เคานต์วีมารา เปเรช (Count Vímara Peres) เป็นผู้ยึดดินแดนระหว่างแม่น้ำมีโนและดูโรคืนมาได้ ดินแดนดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันได้นามว่า Portucale (ซึ่งก็คือโปรตุเกสในปัจจุบัน)
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.wikipedia.com จ๊า
แสดงความคิดเห็น